ประเพณีของจังหวัดระยอง


ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ

 rayon2-301-2-1

ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ
ช่วงเวลา วันเพ็ญเดือน 12
ความสำคัญ
ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำของชาวปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นประเพณีที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย มีการทอดผ้าป่าในเวลากลางวันและลอยกระทงในเวลากลางคืน การทอดผ้าป่ากลางน้ำของชาวประแสร์ เป็นไปตามวิถีชีวิตของผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ติดกับแม่น้ำ อันได้แก่ แม่น้ำประแสร์ ประชาชนมีอาชีพประมง ชาวประแสร์นับถือศาสนาพุทธมาแต่บรรพบุรุษ เมื่อมีเงินทองก็คิดที่จะทำบุญ แต่ชาวประแสร์ในอดีตนั้นจะมีประเพณีอยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้าผู้ใดทำบุญบ้าน ทำบุญแต่งงาน หรือทำบุญอะไรก็ตามจะต้องทอดผ้าป่าด้วย.
ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำสันนิษฐานว่าสืบทอดกันมานานกว่า 100 ปี โดยประชาชนจะนำพุ่มผ้าป่าไปปักไว้กลางแม่น้ำประแสร์ โดยพุ่มผ้าป่าจะใช้กิ่งไม้จากต้นฝาดหรือต้นโปรง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลนโดยทั่วไป ประดับตกแต่งพุ่มผ้าป่าให้สวยงาม จากนั้นไปนิมนต์พระสงฆ์มาชักผ้าป่าตามพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนา โดยนิมนต์พระสงฆ์ลงเรือไปยังพุ่มผ้าป่ากลางลำน้ำประแสร์ ประชาชนที่ร่วมประกอบพิธีจะพายเรือหรือแจวเรือของตนเข้าร่วมพิธีกลางลำน้ำนั้น หลังจากประกอบพิธีกรรมทอดผ้าป่ากลางน้ำแล้ว ประชาชนจะร่วมกิจกรรมสนุกสนานรื่นเริง โดยการจัดการละเล่นอันได้แก่ การแข่งเรือพาย แข่งพายกะโล่ แข่งพายเรือข้ามลำไม้ไผ่ แข่งชกมวยทะเล
การทอดผ้าป่ากลางน้ำได้วิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันจะมีขบวนเรือประมงขนาดใหญ่จำนวนนับร้อยลำมาแห่พุ่มผ้าป่า ภายในเรือจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงตลอดเวลา และตามหน้าบ้านของชาวบ้านปากน้ำประแสร์จะนำพุ่มผ้าป่ามาปักไว้หน้าบ้านของตนบ้านละ 1 พุ่มตามความศรัทธา ตกแต่งให้สวยงาม แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดตะเคียนงามมาชักพุ่มผ้าป่า.
การ จัดผ้ากลางน้ำมีมานานแล้ว ดูตามพฤติการณ์ที่พบเห็นเมื่อ พ . ศ . ๒๔๗๔ เป็นต้น ในขณะนั้น เรือพายที่มาร่วมงาน ร่วมแข่งเรือ มาจากเรือต่างๆที่ห่างไกลเช่นจากบ้านแหลมยาง ทะเลน้อย ดอนกอกล่าง ท่ากง พังราดไทย ปากน้ำพังราด เนินฆ้อ เป็นต้น ชาวบ้านและเรือพายเหล่านี้มาร่วมเพื่อการกุศลเป็นหลัก และสนุกด้วย สุดท้ายตอนเย็นได้รางวัล เป็นผ้าขาวม้าสักผืน ๒ ผืน ผ้าผูกหัวเรือสักผืนน้ำมันก๊าดสักปีป ๒ ปีปก็เป็นที่พอใจอย่างยิ่ง เป็นที่สนุกสนาน เพราะข้าวปลาอาหารนั้นมีเลี้ยงดูกันทั้งข้าวทั้งผลไม้ตามฤดูพออิ่มสบาย ส่วนเรือองค์ผ้าป่านั้น ในสมัยนั้นบางครั้งก็มีเล่นพายชิงลากเรือองค์ผ้าป่าขึ้นไปต้นน้ำ ลากลงมาตามน้ำส่วนผ้าป่านั้นมิได้จัดถวายวัดใดโดยเฉพาะส่วนมากก็ถวายแจกจ่าย กันไปทั่วๆ สำหรับหมู่บ้านที่มาร่วมงาน พอเย็นก็เลิกเรือทุกลำกลับบ้าน ไปบำเพ็ญบุญเอาของรางวัลไปถวายวัด และลอยกระทงกันต่อไป ทำติดต่อกันมา สอบถามท่านผู้มีอายุในสมัยนั้น ท่านก็ว่าทำกันมาก่อนแล้ว คงจะเป็นพิธีการทางศาสนาเพื่อรวมคนเป็นสามัคคีมาตั้งแต่สมัยเป็นที่ตั้ง เมืองแกลง ประกอบกับสภาพแม่น้ำเป็นส่วนประกอบที่เหมาะในการจัดงานด้วย การแข่งเรือก็เป็นการแข่งขันกันเพื่อสนุกสนานเท่านั้น มิได้ถือเอาเป็นเคร่งครัดจริงจังมากนัก รางวัลก็มิใช่รางวัลพิเศษเป็นถ้วยเงินขันน้ำพานรองอะไร รางวัลส่วนมากจะเป็นผ้าขาวม้าบ้าง ผ้าขาวบางบ้างผ้าแพรผูกหัวเรือบ้าง น้ำมันก๊าซ ตะเกียง บ้างสิ่งของบ้างเท่านั้น โดยเฉพาะน้ำมันก๊าซ นั้นเป็นที่ต้องการมาก เพราะตามวัดเวลามีงานต้องใช้จุดตะเกียงเจ้าพายุที่สว่างมาก และได้บริเวณกว้าง กับแม้ตะเกียงโคมรั้วซึ่งจุดกันลมได้ก็ต้องใช้ กับตะเกียงลานซึ่งใช้ได้ทั้งให้แสงสว่างและเป็นที่ต้มน้ำร้อนกาเล็กๆ สำหรับชงน้ำชาจีนของท่านสมภารเจ้าวัดก็ต้องใช้น้ำมันก๊าด           


          วิธีการจัดการแข่งขัน จัดโดยคณะกรรมการจัดงานผ้าป่ากลางน้ำ จะมีเรือจากหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียงมาร่วมแข่งขัน บางปีจะมีเรือยาวจากจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมแข่งขันด้วย เรือยาวที่เข้าร่วมแข่งขันจะเป็นเรือประจำของวัดต่าง ๆ ในตำบลนั้น และต่างตำบล บางลำเป็นเรือของชาวบ้าน โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา๐๙.๐๐น . จะมีเรือเข้าแข่งขันหลายขนาด เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง จำนวนผู้พายจัดจำนวนขนาดพอเหมาะกับขนาดของเรือ เรือแข่งนี้จะจัดตกแต่งให้สวยงามทั้งลำเรือ และคนพาย เรือบางลำมีผีพายเป็นชายล้วน บางลำก็เป็นหญิงทั้งหมด บางลำมีทั้งชายและหญิง ผีพายมีทั้งคนหนุ่มสาวและแก่          การแข่งขันจะเริ่มด้วยการเปรียบเทียบจำนวนคนพายเท่า ๆ กัน หรืออาจจะมากกว่ากันเล็กน้อยเมื่อแจ้งคณะกรรมการที่ได้ทำการแข่งขันแล้ว เรือเหล่านั้นจะพายเล่นไปตามลำแม่น้ำเพื่อให้ประชาชน ได้ชมและเพื่อความสนุกสนานของผีพายในเรือนั้น เรือที่จะเข้าแข่งขันจะมีทั้งประเภทสวยงาม ประเภทตกแต่งตลกขบขัน และประเภทแข่งผีพายธรรมดา เรือแต่ละลำจะมีการร้องรำทำแพลงกันอย่างครึกครื้น บ้างพายไปมา บางลำก็จอดอยู่กับที่ จะมีห่อข้าว ขนมและเครื่องดื่มแจกให้คนพายทุกคนจากคณะกรรมการจัดงาน และมีผู้ใจบุญนำมาให้          การประกวดเรือประเภทสวยงามและประเภทความคิดจะประกวดในภาคเช้า หลังจากรับประทานอาหารตอนกลางวันแล้ว เริ่มแข่งขันเรือพายคือเวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น . จะแข่งคราวละ ๓ – ๔ ลำ ตามจำนวนเรือที่เข้าแข่งขันและจำนวนผีพาย เมื่อได้เรือชนะที่ ๑ แล้ว จะให้เรือที่ชนะรอบแรก ได้เข้าแข่งขัน ในรอบชนะเลิศอีกครั้ง ในการแข่งขัน จะมีของรางวัลให้แก่เรือที่เข้าประกวดและแข่งขันทุกลำ เรือที่ชนะเลิศจะได้รับของรางวัลมากเป็นพิเศษ ส่วนมากของรางวัล เมื่อเรือแต่ละลำได้รับแล้วจะนำไปถวายวัด          นอกจากการแข่งขันเรือพายแล้งยังมีการประกวดเทพีนาวา โดยจัดหาคนสวยที่นั่งในเรือแข่งมาประกวด จะประกวดหลังจากแข่งเรือแล้ว หลังงานเสร็จสิ้นลงในเวลาประมาณ ๑๘.๐๐น . ผู้ชมงาน ชมเรือจะได้นั่งเรือบริการฟรีของชาวประมงประแสร์ซึ่งเสียสละบริการรับส่งให้ ชมตลอดงาน มีผู้มาชมงานปีละมาก ๆ ทั้งคนในตำบล ต่างตำบล และต่างจังหวัด                

ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ    
     ประเพณีการทำบุญทอดผ้าป่ากลางน้ำในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวบ้านปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้สืบทอดประเพณีกันมาประมาณร้อยกว่าปีมาแล้วโดยเล่าสืบต่อกันมาว่า ได้มีคณะกรรมการจัดทอดป่ากลางน้ำ รวม ๕ คน คือ หมื่นพรเจริญพงษ์ ( หุน เจริญ ) ขุนมุข ประแสร์ชล ( บุญ การดี ) เป็นกำนันในขณะนั้น ขุนประเสริฐ ( นำยม บุญยั่งยืน ) นาย บุญรอด ศิลปทอง นายถุงใหญ่ พูลศิลป์ และมีพ่อจรอง วานิชรัตน์ เป็นคนรับใช้ตัดไม้มาทำพุ่มผ้าป่า พร้อมด้วยเพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกันหลายคนช่วยกันจัดทำกิจกรรมมีการแข่งเรือพาย แข่ง ว่ายน้ำ แข่งพายกะโล แข่งเรือพายข้ามไม้ไผ่ลอยน้ำ
         พ่อประเสริญ ปรีชา ( เกิดราว พ . ศ . ๒๔๗๔ ) ได้เล่าว่าไปดูเขาแข่งเรือ ว่ายน้ำ และอื่น ๆ อีกฯ การจัดทำผ้าป่ากลางน้ำชาวบ้านปากน้ำประแส ได้หยุดไประยะหนึ่ง เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน พ . ศ . ๒๔๘๔ เพราะทางราชการสั่งให้หยุดจัดทำกัน หยุดประมาณ ๔ ปี เมื่อสงครามเลิกแล้วจัดทำกันอีกเมื่อ พ . ศ . ๒๔๘๗          พ่อลี้ เจโตวิบูลย์ ( เกิดประมาณ พ . ศ . ๒๔๘๙ ) ได้เล่าว่ามีพระชื่อ สงกรานต์ มาอุปสมบทอยู่ที่วัดสมมติเทพฐาปนาราม ได้เป็นผู้ฟื้นฟูประเพณีการทำบุญทอดผ้าป่ากลางน้ำขึ้นอีก เพื่อรักษาประเพณีไว้มาจนทุกวันนี้          พระครูประภัทรวิริยคุณ ซึ่งเป็นผู้เขียนได้เล่าว่า ตนเองเคยอยู่วัดพลงช้างเผือก เมื่อ พ . ศ . ๒๕๐๒ มีชาวแหลมยางชื่อพ่อแดง มาเยี่ยมท่านพ่อกูลที่วัดพลงช้างเผือก เล่าให้ฟังว่าท่านพ่อกูลอายุอ่อนกว่าประมาณ ๒- ๓ ปี ท่าน เกิด ร . ศ . ๑๐๘ ( พ . ศ . ๒๔๓๒ ) อายุพ่อแดงประมาณ ๑๕ – ๑๖ ปี ในขณะนั้นว่าเมื่อสมัยเป็นเด็กอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง เมื่อ ร . ศ . ๑๑๙ – ๑๒๑ ( พ . ศ . ๒๔๔๓ – ๒๔๔๕ ) เพื่อเรียนหนังสือกับครูไพบูลย์ เป็นผู้สอนในขณะนั้นท่านพ่อพัด ( พระสมุห์พัด ) เป็นเจ้าอาวาส มีเด็กวัดหลายคนคิดจะไปเที่ยงงานประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำและแข่งเรือที่ปาก น้ำประแส พอถึงเดือน ๑๒ เด็กวัดดังกล่าวเตรียมหาไม้พาย เพื่อนำเรือไปร่วมแข่งขันในงานนี้ด้วย ( วัดโพธิ์ทองอยู่ติดกับลำคลองวัดนี้อยู่ใกล้กับตัวอำเภอเรียกเมืองแกลง ) ท่านพ่อพัดทราบพฤติกรรมของเด็กวัดแต่ นิ่งเสียพอถึงกำหนด วันเพ็ญเดือน ๑๒ ได้เรียกเด็กวัดประชุม กล่าวกับเด็กวัดว่า วันนี้เป็นประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำของชาวประแส และมีการแข่งขันเรือกันที่วัดมีเรือแต่ไม่มีพาย เด็กวัดทั้งหลายเข้าใจว่าท่านพ่อคงอนุญาตให้ไป จึงตอบรับว่า “ มีขอรับ “ ท่านพ่อจึงให้ไปนำพายมาแล้วใช้เด็กวัดนั่งบนหอฉัน หอฉันนั้นมี ๒ ลด นั่งทับเท้าข้างหนึ่ง นั่งห้อยเท้าข้างหนึ่ง แล้วทำท่าพายเรือกับให้ส่งเสียงร้องพร้อมๆกันว่า “ ฮุย เล ฮุย “ ดังนี้เป็นเวลาประมาณครึ่งวัน และไม่อนุญาตให้ไป การเอาประวัติของหลวงพ่อพระมหุห์พัดมากล่าวนี้ มิได้มีเจตนาจะให้เสื่อมเสียชื่อเสียงแต่ประการใด เพื่อต้องการเอามาประกอบทำประวัติผ้าป่ากลางน้ำ ให้มีหลักฐานมั่นคงเท่านั้น    
     ฉะนั้น ประเพณีทำบุญทอดผ้าป่ากลางน้ำของชาวประแสนี้ ตามหลักฐานที่กล่าวมานี้ คิดว่าทำกันมาไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ปี มีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ มาตามที่คณะกรรมการผู้จัดการจะเห็นสมควรจึงประมวลวิธีว่ามีการเปลี่ยนแปลง ตามลำดับดังนี้
   
     ๑. ชาวบ้านช่วยกันจัดเรือผ้าป่าตกแต่งประดับประดาให้สวยงามไปลอยอยู่ในคลอง แม่น้ำประแสร์ประมาณ ๕ โมงเย็น อาราธนาพระไปลงเรือ พิจารณาผ้าป่ากลางน้ำ
     ๒. คณะกรรมการเห็นความลำบากของพระ ได้จัดเรือผ้าป่าไว้ที่ท่าน้ำโป๊ะจ้าย และ อาราธนาพระลงไปพิจารณาในเรือที่ท่านั้น และปีต่อมาประชาชนมีศรัทธามากขึ้น จึงจัดเป็นพุ่ม ไปปักไว้ริมท่าหรือริมคลองแม่น้ำประแสร์ใกล้บ้านของตนแล้วอาราธนาพระไป พิจารณา ฯ
     ๓. ต่อมาคณะกรรมการเห็นว่าควรจะรักษาประเพณีเดิมไว้ จึงจัดเรือผ้าป่าลอยลำ ไว้ในคลองแม่น้ำประแสอีกฯ  
     ๔. มายุคกลาง ๆ จัดทำพุ่มผ้าป่าไว้หน้าบ้านของผู้มีจิตศรัทธา นิมนต์พระหลายวัด ไปจับเบอร์ ที่วัดตะเคียนงาม พระเดินไปหาเบอร์ตามบ้านให้ตรงกับเบอร์ที่พระถือ พระที่มาจากวัดต่าง ๆ เดินหาไม่พบ จนถึงเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่จะไปเที่ยวงาน หรือเตรียมตัวไปลอยกระทงต้องลำบาก ภายหลังต้องบอกเบอร์ให้พระรู้
     ๕. ยุคหลังสุดนิมนต์พระมาประมาณ ๑๐๐ รูป จัดทำผ้าป่านำเรือผ้าป่าไปลอยลำไว้ใน แม่น้ำประแสร์ ๑ ลำ อาราธนาพระสงฆ์ประมาณ ๕ - ๑๐ รูป ไปฉันเพลในเรือเพื่อรักษาประเพณี และให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้ได้เห็นพิธีต่าง ๆ ว่าในสมัยก่อนทำอย่างนี้ พระที่เหลืออีก ๑๐๐ รูป เวลา ๑๘.๐๐ น . ( ๖ โมงเย็น ) ไปจับเบอร์ที่วัดตะเคียนงาม แล้วเดินหาพุ่มตามบ้านให้ตรงกับเบอร์ที่จับได้
การเล่นในช่วงกลางวัน  
     ๑) ในสมัยแรก ๆ มีการแข่งขันเรือพาย และการว่ายน้ำแข่งกันเท่านั้น ฯ
     ๒) ในสมัยกลาง ๆ มีการแข่งขันเรือพาย การแข่งขันว่ายน้ำ การแจวเรือข้ามไม้ไผ่ และ การนั่งกะโล่พายแข่งกัน มวยทะเล แถกกระดี่ ดำน้ำแข่งกัน และนำเอาลิเกไปเล่นในเรือ
     ๓) ในสมัยปัจจุบัน มีการแข่งขันเรือพาย แข่งเรือเร็ว ดำน้ำแข่งกัน การประกวดเรือพาย ประเภทสวยงาม ประกวดเทพีนาวาชักเย่อบนบก มีการจัดแต่งเรือประมง พร้อมผู้แต่งแฟนซีประกวดกัน การประกวดร้องเพลง และมีแมวมองสาว ๆ ที่มาชมงานเป็นเทพี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น